โพสต์แนะนำ

สัญลักษณ์ไฟโชว์ที่หน้าปัดรถยนต์

สัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์พื้นฐานของรถยนต์ทุกค่ายที่พึงมี รูปร่างอาจต่างกันนิดหน่อยครับ

Thursday, September 17, 2015

ระบบเบรกรถบรรทุก สิบล้อ

ก่อนอื่นขอกล่าวถึงพื้นฐานระบบเบรกทั่วไปเพื่อปูพื้นฐานก่อนครับ
เพราะชื่อเรียกระบบและกลไกต่างมีความซับซ้อนและคลายคลึงกันทำให้ยากต่อการจำแนกและการจำ
การเบรกของยานพาหนะมีหลายวิธีที่จะหยุด เช่นดึงตัวรถมิให้เคลื่อนที่ เช่นถุงลม ที่ใช้ในรถแข่งทำความเร็วระยะสั้น
หรือการเบรกทั่วไปที่กระทำที่่ล้อไม่ให้หมุน ที่นิยมใช้กันแพร่หลาย
การเบรก ที่ใช้การห้ามล้อมิให้หมุน หรือหมุนช้าลงโดยการให้เกิดความฝืดโดยใช้ผ้าเบรกเสียดสี
การใช้ผ้าเบรกเสียดสี นิยมใช้ 2 วิธีคือ การหนีบ และการถ่าง ซึ่งในรถบรรทุกจะเป็นแบบการถ่างมากกว่า เนื่องจากต้นทุนการผลิตกับประสิทธิภาพลงตัวมากกว่า
การหนีบ นิยมใ่ช้กับระบบ Disc Brake
การถ่าง นิยมใ่ช้กับระบบ Drum Brake
Credit : http://www.mitsubishi-fuso.com


1. การหนีบ นิยมใ่ช้กับระบบ Disc Brake ใช้ผ้าเบรกหนีบจานดิสก์เบรกที่ยึดติดกับดุมล้อ เพื่อให้เกิดความฝืด จะพบมากที่ ล้อหน้ารถ มอเตอร์ไซด์, ล้อหน้ารถยนต์

2. การถ่าง นิยมใ่ช้กับระบบ Drum Brake ใช้ผ้าเบรกถ่างออกเพื่อเสียดสี กับกะทะเบรกที่ยึดติดกับดุมล้อ เพื่อให้เกิดความฝืด จะพบมากที่ ล้อหลังรถ มอเตอร์ไซด์, ล้อหลังรถยนต์

วิธีที่ 3 ระบบนี้ เป็นแบบเปียก ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเพราะดูแลยาก สู้ 2 วิธีแรกไม่ได้
3. การอัดซ้อนแผ่น (แบบเปียก) ใช้แผ่นโลหะ หรือแผ่นไมก้าหนีบอัดซ้อนกันให้เกิดความฝืด แช่ในน้ำมันเพื่อลดการสึกหรอ (คล้าย ๆกับแผ่นคลัตช์ในระบบคลัตช์ ในรถจักรยานยนต์ หรือแผ่นคลัตช์ในเกียร์อัตโนมัติในรถยนต์)





ระบบดิสก์เบรก : ภาพแสดงการเคลื่อนที่ของน้ำมันเบรกแรงดันสูง ดันลูกสูบดิสก์เบรกให้เคลื่อนที่่ กดผ้าดิสก์เบรกให้เสียดสีกับจานดิสก์เบรก
ภาพที่ 1 ระบบดิสก์เบรก
แสดงชื่อชิ้นส่วนต่าง ๆในระบบดิสก์เบรก
ภาพที่ 2 ระบบดิสก์เบรก
ระบบดิสก์เบรกอยู่ในสภาวะปรกติ(ยังไม่ทำงาน)
ภาพที่ 3 ระบบดิสก์เบรก
ขณะระบบดิสก์เบรกทำงาน แสดงการเคลื่อนที่ของน้ำมันเบรกแรงดันสูง
ดันลูกสูบดิสก์เบรกให้ผลักผ้าดิสก์เบรกแนบจับจานเบรกเพื้อสร้างความเสียดทาน




เบรกแบบถ่างออก (Drum Brake)
รถกระบะ Toyota Hilux Revo (Drum Brake)
 
กระบอกเบรก (Wheel Cylinder) รถบรรทุกสิบล้อ อีซูซุ ร๊อคกี้
เบรกแบบถ่างออก (Drum Brake)
Link



***
Disc Brake อาจมีทั้ง 4 ล้อจะพบได้ในรถยนต์ราคาแพง ๆ เพราะต้นทุนสูง
Drum Brake อาจมีทั้ง 4 ล้อจะพบได้ในรถยนต์รุ่นเก่า ๆ

รถยนต์ประเภท 4 ล้อในปัจจุบันมักนิยมใช้ ล้อคู่หน้าเป็นระบบดิสก์เบรก ล้อคู่หลังเป็นระบบดรัมเบรก
รถยนต์บรรทุก ประเภท 4 ล้อขึ้นไป รวมถึงรถบรรทุกสิบล้อ, รถบรรทุกพ่วง, รถเมล์ ฯล นิยมใช้ เป็นระบบดรัมเบรกทุกล้อ

ระบบเบรก แยกตามการสั่งงาน ที่ใช้ในยานพาหนะทั่วไป
1. ใช้สายสลิงควบคุม เห็นได้ง่าย ในรถจักรยานครับ
2. ใช้ไฟ้าฟ้าควบคุม ในรถไฟฟ้า หรือรถบรรทุกรุ่นใหม่ (แต่ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะระบบไฟต้องเพียงพอถึงปลอดภัย ส่วนมากใช้ร่วมกับระบบเบรกอื่น ๆ)
3. ใช้ของเหลวควบคุมนิยมใช้น้ำมันไฮดรอลิก HYDRAULIC BRAKE SYSTEM พบได้ง่ายในรถจักยานยนต์ รถยนต์ทั่วไป
รถยนต์ที่วไป และรถบรรทุก 6 ล้อ ใช้แบบไฮดรอลิก ทำงานร่วมกับหม้อลมเพื่อผ่อนแรงในการเหยียบเบรก
4. ใช้อากาศควบคุม(หรือเรียกว่า ระบบเบรกล้มล้วน เพื่อใช้ดันกลไกเบรก) AIR BRAKE SYSTEM พบมากในรถบรรทุกรุ่นใหม่ ๆ, รถพ่วง, รถหัวลาก
5. ใช้อากาศ ควบคุมของเหลว(เพือควบคุมกลไกเบรกอีกชั้นนึง ให้ดันกลไกเบรก) AIR OVER HYDRAULIC BRAKE SYSTEM



HINO 500 : ระบบเบรก AIR OVER HYDRAULIC BRAKE SYSTEM /ระบบลมดันน้ำมัน
เป็นรถบรรทุก 12 ล้อ ดัดแปลง โดยเพิ่มล้อ หน้าคู่หลังอีก 2 ล้อ (รวมเป็นหน้า 4 ล้อ + ล้อหลัง 8 ล้อ เท่ากับ 12 ล้อ)

HINO 500 : สภาพล้อเดิม ๆ จากโรงงาน


รถบรรทุกสิบล้อ + พ่วง
HINO FM2K :: ระบบเบรก AIR OVER HYDRAULIC BRAKE SYSTEM /ระบบลมดันน้ำมัน
(ถังสีขาวด้านข้างคือ ถึงเชื้อเพลง NGV)




ISUZU DECA FYH 360 แรงม้า : ระบบเบรก AIR BRAKE SYSTEM / ระบบลมล้วน
วงจรเบรกคู่แยกหน้า-หลัง มีวงจรดักจับความชื้นในระบบเบรก
ฝักเบรกล้อหน้า และล้อหลัง เป็นระบบแบบตั้งอัตโนมัติ
เบรกมือ แบบสปริงเบรก บังคับที่ล้อหลัง
เบรกช่วย แบบเบรกไอเสีย

ระบบเบรก รถบรรทุกมีอะไรบ้าง
เราทราบกันแล้วว่าเทคโนโลยีของระบบเบรก หรือการทำให้เกิดความฝืดเพื่อห้ามล้อมิให้หมุน ก็นิยมใช้ อยู่ 2 ประเภท
เหมือนกับรถยนต์ทั่วไป ก็คือ Disc Brake (ใช้การหนีบ) และ Drum Brake (ใช้การถ่าง) แต่ที่นิยมมากสุดในปัจจุบันนี้ก็คือ
Drum Brake เนื่่องจากให้พื้นที่ในการเสียดสีของผ้าเบรกที่มากเหมาะสมกับต้นทุนและเทคโนโลยีในปัจจุบัน

จำแนกตามระบบสั่งงาน มี 3 แบบ โดยแยกตามระบบการสั่งงาน เรียงลำดับตามยุคสมัยดังนี้
1. VACUUM ASSISTED BOOSTER ใช้ในรถบรรทุกขนาดเล็กไม่เกิน 6 ล้อ เช่น 4 ล้อ และ 6 ล้อเล็ก (แต่หม้อลมไม่ใช่แบบปิ๊กอัพ)
2. AIR OVER HYDRAULIC BRAKE SYSTEM ระบบลมดันน้ำมัน โดยระบบนี้นิยมใช้ระบบดรัมเบรก ที่ใช้กระบอกเบรก (Wheel Cylinder)
3. AIR BRAKE SYSTEM ระบบเบรกลมล้วน (มิตซูบิชิเรียกว่า Full Air Brakes)


ตัวอย่าง รถบบรทุกสิบล้อที่ใช้ ระบบเบรกลมดันน้ำมัน : ISUZU ROCKY ดูเพิ่มเติม





การทำงานของระบบเบรกรถบรรทุก AIR OVER HYDRAULIC BRAKE SYSTEM
หมายเหตุ ระบบนี้มีชื่อเรียกต่าง ๆหลายอย่าง เช่น "ระบบ เบรค ลม ดันน้ำมัน" แต่ก็มีความหมายเดียวกัน
ตัวอย่างรถบรรทุกที่ใช้ ระบบเบรกนี้ "รถบรรทุก HINO 500", "ISUZU ROCKY"
ภาษาอังกฤษแคนาดา เรียกระบบนี้ว่า "Air-Actuated Hydraulic Brake System"


ผังอุปกรณ์พื้นฐานในระบบเบรกรถบรรทุก เบรกลมดันน้ำมัน
(AIR OVER HYDRAULIC BRAKE SYSTEM )
(ในภาพสีเหลืองคือ Bootster unit = หม้อลมเบรก)

ระบบนี้ (AIR OVER HYDRAULIC BRAKE SYSTEM ) ใช้ ระบบลมดันน้ำมันผ่านแม่ปั๊มเบรก
ซึ่งระบบเบรกนี้ออกแบบเพื่อใช้งานกับรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่
อุปกรณ์ หม้อลมแม่ปั๊มเบรก ที่ใช้งานมีจำนวน 2 ชุด
- ชุดที่ 1 เป็นหม้อลมแม่ปั๊มเบรกควบคุมล้อหน้า
- ชุดที่ 2 เป็นหม้อลมแม่ปั๊มเบรกควบคุมล้อหลัง
โดยแต่ละชุดจะทำหน้าที่ควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกไปยังล้อตามชื่อชุด
โดยรับคำสั่งพร้อมกันจาก ลิ้นเหยียบเบรก ดันแผ่นไดอะแฟรมที่อยู่ในหม้อลมแม่ปั๊มเบรกให้เลื่อนไปข้างหน้า
เพื่อดันลูกสูบในกระบอกแม่ปั๊มเบรก ให้สร้างแรงดันน้ำมันจ่ายผ่านท่อแป๊ปเบรกที่ปลายกระบอกแม่ปั๊มเบรกที่ติดตั้งไกล้ถังลมไปยังล้อต่าง ๆ
เพื่อส่งให้กระบอกเบรก(Wheel Cylinder) รับแรงดันน้ำมันเบรก แล้วส่งผ่านแรงดันไปที่ลูกสูบกระบอกเบรก เพื่อถ่างก้ามเบรกต่อไป
โดยการควบคุมของคนขับ

หมายเหตุ
ปั๊มเบรก / แม่ปั๊มเบรก / หม้อลมเบรก จะติดตั้งไกล้กับถังลม ทำหน้าที่สร้างน้ำมันเบรกแรงดันสูง เพื่อส่งให้กับกระบอกเบรกตัวล่าง
กระบอกเบรก / กระบอกเบรกตัวล่าง จะติดตั้งอยู่ไกล้กับกระทะล้อ ทำหน้าที่ถ่างก้ามเบรก โดยรับแรงดันน้ำมันเบรก จากแม่ปั๊มเบรกมาดันลูกสูบให้ถ่างก้ามเบรก






การทำงานของระบบเบรก รถบรรทุก AIR BRAKE SYSTEM ตัวอย่างรถที่่ใข้ระบบนี้คือ ISUZU DECA FYH 360 แรงม้า
ระบบนี้ใช้ลมล้วน ๆ ไม่ใช้น้ำมันเบรกจึงไม่ต้องมีการไล่ลมเบรกที่ปนมากับน้ำมันให้ยุ่งยาก

ระบบนี้นิยมใช้ในรถบรรทุกขนาดใหญ่ รุ่นใหม่ในปัจจุบัน
ข้อดีของระบบนี้คือ
- ไม่ใช้น้ำมันเบรกจึงไม่ต้องมีการไล่ลมเบรกที่ปนมากับน้ำมัน
- ลดการเกิดอุบัติเหตุปัญหาการควบคุมรถไม่อยู่จากอาการ เบรกแตก
เพราะระบบนี้ กลไกเบรกจะทำการเบรกให้โดยอัตโนมัติ เมือแรงดันลมในระบบเบรก ต่ำกว่าปกติ
เช่นลมรั่วออกจากถัง หรือกรณีเราขับรถลงเนินใช้เบรกบ่อย จนลมในถังอ่อน ถ้าเป็นเบรกรุ่นที่ ใช้ลมดันน้ำมัน ก็จะไม่สามารถเบรกได้ แต่ถ้าเป็นระบบ ลมล้วนนี้ จะมีระบบเซฟตี้เบรกมาให้อีกชั้นนึง เรียกระบบนี้ว่า ระบบเบรกฉุกเฉิน คือเมื่อใช้ลมในถังหมดหรือแรงดันอ่อน ระบบเบรกฉุกเฉินก็จะทำงานทันที














วงจรระบบเบรกรถบรรทุก อีกวงจรหนึ่ง ออกแบบโดยบริษัท BEPCO เป็นระบบเบรกลมล้วน/ AIR BRAKE SYSTEM ใช้กับระบบเบรกรถบรรทุก พร้อมลูกพ่วง
วงจรนี้ใช้ ถังเก็บแรงดันลม 3 ถัง ตำแหน่งอุปกรณ์ในวงจรเบรก หมายเลข 4, หมายเลข 5 และหมายเลข 6
- หมายเลข 4 เป็นถังเก็บแรงดันลมหลัก ที่รับจากปั๊มโดยผ่าน กรองลมเข้ามาเก็บไว้
- หมายเลข 5 เป็นถังเก็บแรงดันลมที่รับมาจากถังหลัก(#4) แล้วจ่ายลมให้กับระบบเบรกล้อคู่หน้า และระบบเบรกลูกพ่วง(ล้อเทเลอร์)
- หมายเลข 6 เป็นถังเก็บแรงดันลมที่รับมาจากถังหลัก(#4) แล้วจ่ายลมให้กับระบบเบรกล้อคู่หหลัง และระบบเบรกลูกพ่วง(ล้อเทเลอร์)
ให้สังเกตุนะครับว่า ถังลมหมาย 5 และถังลมหมายเลข 6 ต่างก็จ่ายลมให้กับระบบเบรก ล้อลูกพ่วง(ล้อเทเลอร์)เหมือนกัน
แต่จะทำงานไม่พร้อมกัน
โดยเส้นสีแดงทำหน้าที่ควบคุมวงจรเบรกขณะจอด และทำหน้าที่่เบรกฉุกเฉินในกรณีลูกพ่วงหลุด หรือแรงดันลมในระบบอ่อน ผ่านหม้อลมเบรกหลังที่เรียวกว่า "Tandem Springbrakes"
ส่วนเส้นสีฟ้าทำหน้าที่ควบคุมวงจรเบรกหลัง (Service Brake)


ระบบเบรกรถบรรทุก พร้อมระบบเบรกลูกพ่วง ลมล้วน/ AIR BRAKE SYSTEM

ระบบเบรกที่ติดตั้งที่ลูกพ่วงในระบบล้มล้วน จะทำการเบรกฉุกเฉินทันทีในกรณีที่ลมในถังอ่อนเใช่เดียวกันเหมือนตัวแม่ และยังสามารถเบรกฉุกเฉินในกรณี ที่สายลมจากตัวแม่และตัวลูกพ่วงหลุดจากกัน   จากภาพในวงกลมสีแดงคือ จุดต่อสายลมจากตัวแม่(หัวลาก) ไปที่ลูกพ่วง
'
1.   Compressor 15.   Trailer Hand Control Valve
2.   Governor 16.   Trailer Charge Dash Valve
3.   Air Dryer 17.   Tractor-Trailer Park Valve
4.   Supply Reservoir 18.   Tractor Park Valve
5.   Front Brake Reservoir 19.   Double Check Valve with Stop Light Switch
6.   Rear Brake Reservoir 20.   Tractor Protection Valve
7.   Compressor 21.   Springbrake Valve
8.   One-Way Check Valve 22.   Springbrakebrake Control/Relay Valve
9.   Low Pressure Switch 23.   Service Brake Relay Valve
10.   Dash Gauge 24.   Tandem Springbrakes
11.   Two-Way Check Valve 25.   Trailer Air Reservoir
12.   Two-Way Check Valve 26.   Springbrake Valve
13.   Limiting and Quick Release 27.   Service Chamber
14.   Foot Valve






ระบบเบรกลมล้วน
กรณีแรงดันลมของระบบที่อยู่ในถังลมอ่อน กว่ากำหนด ดูได้จากเกจ์วัดลม หรือถ้าอ่อนมากจะมีเสียงออดเตือนแจ้งให้เราทราบถึงสถานะที่ไม่ควรออกรถ อุปกรณ์ในระบบส่งกำลังอื่น ๆก็จะถูกระงับ หรือใช้งานไม่ได้ เช่น
- ระบบล้อถูกล๊อก
- ระบบเกียร์ใช้งานไม่ได้ กรณีใช้การลมยิงเกียร์(ระบบการเปลี่ยนเกียร์โดยแรงดันลม)
- ระบบคลัตช์ใช้งานไม่ได้(ระบบการเหยียบคลัตช์ของรถบรรทุกนิยมใช้ ลมช่วยดันผ่านหม้อลมคลัตช์ การทำงานคล้ายหม้อลมเบรกในระบบ เบรกแบบลมช่วยดัน/AIR OVER HYDRAULIC BRAKE SYSTEM)




ระบบเบรกลมล้วน (หม้อลมเบรก จะเป็นแบบ 2 ห้อง ถูกออกแบบมาให้ล๊อกตลอดเวลาเมื่อไม่มีแรงดันลม)ในกรณีเครื่องยนต์เสีย สตาร์ท ไม่ติด ระบบเบรกฉุกเฉินจะทำงาน
  เมื่อเครื่องยนต์ สตาร์ท ไม่ติด ส่งผลให้ไม่มีลมไปดันในห้องหม้อลมสปริงเบรก ซึ่งจะทำให้รถบรรทุกที่ใช้ระบบเบรกแบบลมล้วน เบรกจะถูกล็อกด้วยแรงดันสปริง เวลาจะลากรถที่สตาร์ทไม่ติดต้องมีการคลายน๊อตล็อคที่หม้อลมสปริงเบรกก่อน แล้วจึงทำการลากรถ
   จากภาพ ให้สังเกตุลูกเบี้ยว รูปตัว S ที่เรียกว่า "S CAM" ทำหน้าที่ถ่างผ้าเบรกให้ติดกับกระทะเบรก
หมายเหตุ
ระบบเบรกฉุกเฉิน กลไกลเบรกเป็นหน่วยเดียวกันกับ หม้อลมเบรกหลัง นิยมติดตั้งอยู่ที่เพลาล้อหลัง ตามเชื่อเรียกเลย
หม้อลมเบรกหลัง ลักษณะเป็นหม้อลมเบรก 2 ชั้น มีชือเรียกทางภาษาอังกฤษหลายชื่อ "Rear Brake Chamber" / Springbrakes" / "Tandem Springbrakes"





หลักการทำงานของระบบเบรกลมล้วน AIR BRAKE SYSTEM
ใช้แรงดันลมดันแผ่นไดอะแฟรมในกระบอกเบรกเพื่อให้เพลาลูกเบี้ยวบิดตัว (ลูกเบี้ยว รูปตัว "S")
ผลจากการที่เพลาลูกเบี้ยวบิดตัวทำให้ฝักเบรกถ่างออกเพื่อต้านการหมุนของกระทะ / จานเบรก
 


การถอดเปลี่ยนดรัมเบรก รถสิบล้อ


ฝักเบรกรถสิบล้อ HINO(ล้อหน้า) ใช้กับระบบดรัมเบรก

ระบบช่วยเสริมการเบรกจากระบบหลัก ในรถบรรทุกนิยมใข้ เครื่องยนต์ช่วยในการเบรก แรงต้านของไอเสีย

1. Gasket,ExhaustManifold
2. FrontPipe
3. Muffler WithCatalyst
4. Tail Pipe
5. Gaskets,ExhaustPipes
6. ExhaustBrake Assembly
7. ExhaustBrake Control Cylinder







วาล์วและอุปกรณ์ในระบบเบรก AIRBRAKE VALVE ASSEMBLIES

- ลิ้นกันกลับทางเดียว, ลิ้นกันกลับ 2 ทาง CHECK VALVE, DOUBLE CHECK VALVE
- เรกูเลเตอร์ควบคุมแรงดันลม AIR PRESSURE REGULATOR
- รีเลย์วาล์ว RELAY VALVE
- วาล์ไล่ลมเร็ว QUICK RELEASE VALVE
- เซฟตี้วาล์ว SAFETY VALVE รักษาแรงดันลมที่เกจวัดประมาณ 7.0-9.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
- จุกระบายน้ำจากถึง DRAIN COCK
- ปั๊มลม
- กาวานา
- ถังลม
- ลิ้นนิรภัย
- ลิ้นเหยียบเบรก ควบคุมลมจากถังลมเพื่อจ่ายไปยังวาล์วเบรกตัวล่าง เพื่อจ่ายลมให้กับระบบเบรก และระบายลมทิ้งในตำแหน่งที่ยกแป้นเบรก
- หม้อลมเบรก
- กระบอกเบรก
- ผ้าเบรก
- กระทะเบรก
- มือเสือ / ข้อต่อมือเสือ จ่ายลมจากตัวแม่(หัวลาก) ไปให้กับระบบเบรกของลูกพ่วง(รถพ่วง)












คำศัพท์ ในที่เกี่ยวข้อง
- Service Brake Chambers หม้อลมเบรก ติดตั้งที่เพลาล้อ ลักษณะ เป็นหม้อลมเบรกชั้นเดียว

- Spring Brake/Spring Brake Assembly หม้อลมเบรก ติดตั้งที่เพลาล้อ ลักษณะเป็นหม้อลมเบรก 2 ชั้น มีฟังก์ชั่น เซฟตี้ขณะที่เกิดที่ระบบลมเบรกอ่อน หม้อลมตัวนี้จะช่วยเบรกฉุกเฉินให้
หมายเหตุบทความนี้จะอัพเดทเรื่อย ๆครับ เพราะรายละเอียดปลีกย่อยเยอะ คำศัพท์เทคนิค ของชื่ออุปกรณ์ เปิดดิกแปลแล้วอาจทำให้บางคนเงิบเลย
เช่น Spring Brake/Spring Brake Assembly เปิดดิกอาจเจอคำว่า สปริงเบรก ฤดูใบไม้ผลิเบรค / ฤดูใบไม้ผลิสมัชชาเบรค
ก็จะว่ามันสื่อความหมายผิด เมื่อดูเทียบตามบล๊อกไดอะแกรม แล้ว
ในบทความนี้ผมเรียกว่าหม้อลมเบรกไปก่อนครับ โดยดูจากรูปร่าง หน้าที่และการทำงาน เพราะว่ายังหาคำแปลจากดิกที่สื่อความหมายได้ชัดเจนยังไม่มีครับ
*** วงจร ระบบเบรกส่วนใหญ่ได้มาจากคู่มือผลิตชิ้นส่วนระบบเบรก ให้กับรถบรรทุกยี่ห้อต่าง ๆ
ดังนั้นก็เลยพยายามคงไว้คำเดิมครับ แต่จะพยามเพิ่มรูปภาพและอธิบายเพิ่ม ใครมีคอมเม้นใด ๆ โพสต์ได้เลยครับ







อุปกรณ์ในระบบเบรก Brake Part
Bendix Relay Valve - 5.5 PSI Crack Pressure
Control 1 port 1/8 P.T
Delivery 4 port 3/8 P.T
Exhaust 1 port
Service 1 port 1/4 P.T
Supply 1/2" P.T










































































คำค้นหา
EXHAUST SYSTEM,BRAKE SYSTEMS,ระบบเบรคทิฟฟี่,ระบบเบรคลม รถบรรทุก, ระบบเบรคลม,ระบบเบรครถยนต์, วงจร เบรก รถ บรรทุก, เบรครถบรรทุก, ระบบเบรกรถบรรทุก, ระบบลมรถบรรทุก, เบรคลม การทํางาน, ระบบเบรคทิฟฟี่, การตั้งเบรครถบรรทุก, ระบบเบรคลมดูด, ระบบ เบรค ลม ดัน, วงจร เบรก รถ บรรทุก, ระบบลมรถบรรทุก, ถัง ลม เบรค รถ บรรทุก, เบรคลม การทํางาน, ระบบเบรคลม รถบรรทุก, ระบบเบรคทิฟฟี่, ระบบเบรครถบรรทุก, ระบบเบรคลมดูด, วงจร เบรก รถ บรรทุก, หม้อลมเบรครถบรรทุก, เบรคลม คือ, การทำงานของระบบเบรก รถบรรทุก

4 comments:

  1. ทำไมเวลาผมเบรกจะชอบมีเสียงดังเตือนและไฟขึ้นรถสิบล้อฮีโน่

    ReplyDelete
  2. ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ครับ

    ReplyDelete
  3. รถเวลาสตาร์ต้องเกียว่าง แต่ ลมหมด เบรคล็อค ให้ทำอย่างไร ถึงจะปลดเกียให้ว่างได้ครับ รถบัส

    ReplyDelete
  4. หกลอลมหมดเบรคล็อคจะทำอย่างไร

    ReplyDelete