โพสต์แนะนำ

สัญลักษณ์ไฟโชว์ที่หน้าปัดรถยนต์

สัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์พื้นฐานของรถยนต์ทุกค่ายที่พึงมี รูปร่างอาจต่างกันนิดหน่อยครับ

Monday, November 30, 2015

เครื่องหมายวัตถุอันตราย ชนิดที่ 4

ประเภทและสัญลักษณ์
ความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
1. วัตถุระเบิด

1.1-1.3 อาจระเบิด โดยรัศมีการระเบิด 1,600 เมตร หรือมากกว่านั้นถ้าเกิดเพลิงไหม้ และเพลิงไหม้อาจทำให้เกิดก๊าซระคายเคืองก๊าซกัดกร่อนและ / หรือก๊าซพิษจากการเผาไหม้

1.4 อาจระเบิด โดยมีรัศมีการระเบิด 500 เมตร หรือมากกว่านั้นถ้าเกิดเพลิงไหม้ และเพลิงไหม้อาจทำให้เกิดก๊าซระคายเคือง ก๊าซกัดกร่อน และ / หรือก๊าซพิษจากการเผาไหม้

1.5-1.6 อาจระเบิด โดยมีรัศมีการระเบิด 1,600 หรือมากกว่านั้น ถ้าเกิดเพลิงไหม้ และเพลิงไหม้อาจทำให้เกิดก๊าซระคายเคือง ก๊าซกัดกร่อน และ / หรือก๊าซพิษจากการเผาไหม้
2. ก๊าซไวไฟ ก๊าซไม่ไวไฟ และก๊าซพิษ

2.1 มีความไวไฟสูงมาก ภาชนะบรรจุอาจระเบิดได้ ไอระเหยทำให้ระคายเคืองอย่างรุนแรง การสัมผัสกับก๊าซหรือก๊าซเหลว อาจเกิดการไหม้ หรือบาดเจ็บรุนแรง และ / หรือผิวหนังอักเสบจากความเย็นจัด

2.2 ไอระเหยอาจทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะหรือสลบโดยไม่มีการแจ้งเตือน การสัมผัสกับก๊าซเหลวอาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ จากความเย็นจัด

2.3 ก่อให้เกิดความเป็นพิษ ถึงขั้นเสียชีวิต หากสารเจ้าสู่ร่างกายโดยการหายใจหรือซึมผ่านทางผิวหนัง การสัมผัสกับก๊าซหรือก๊าซเหลวอาจเกิดการไหม้ หรือบาดเจ็บรุนแรง และ / หรือผิวหนังอักเสบจากความเย็นจัด
3. ของเหลวไวไฟ

3. มีความไวไฟสูง ความร้อน ประกายไฟ ทำให้เกิดการลุกไหม้ ไอระเหยอาจเคลื่อนตัวไปยังแหล่งกำเนิดไฟ และลุกไหม้ย้อนกลับไปยังภาชนะบรรจุได้
4. ของแข็งไวไฟ

4.1 เมื่อได้รับความร้อน ไอระเหยอาจรวมตัวกับอากาศกลายเป็นส่วนผสมที่ระเบิดได้ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร รวมทั้งตามท่อระบายน้ำทิ้ง ก่อให้เกิดความเป็นพิษ หากสารเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ การกิน หรือสัมผัสทางผิวหนังอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

4.2 มีความไวไฟสูงมาก เกิดการลุกไหม้ได้เองหากสัมผัสกับอากาศ การเผาไหม้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และ จะปล่อยฟูม (Fume) ขาวหนาทึบซึ่งทำให้เกิดการระคายเคือง หากสัมผัสกับสารอาจทำให้เกิดการไหม้ที่ผิวหนัง และตาอย่างรุนแรง

4.3 อาจเกิดการลุกไหม้ได้เมื่อสัมผัสกับน้ำหรือความชื้นในอากาศ สารบางชนิดอาจเกิดปฎิกิริยารุนแรง หรือระเบิดเมื่อสัมผัสกับน้ำมีความเป็นพิษสูง เมื่อสัมผัสกับน้ำจะให้ก๊าซพิษ หากหายใจเอาก๊าซเข้าไปอาจเสียชีวิตได้
5. สารออกซิไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์

5.1 สารประเภทนี้เป็นตัวเร่งการลุกไหม้ เมื่อเกิดเพลงไหม้ขึ้น อาจทำให้เชื้อเพลิงอื่น ๆ (เช่น ไม้ กระดาษ น้ำมัน ผ้า เป็นต้น) ติดไฟได้ ฟูม (Fume) หรือเศษผงฝุ่นที่เป็นพิษอาจจะสะสมในพื้นที่ที่อับอากาศ

5.2 ถ้าอุณหภูมิสูง สารประเภทนี้จะมีความไว โดยอาจเกิดลุกไหม้ได้เองหากสัมผัสกับอากาศ อาจเกิดก๊าซระคายเคือง ก๊าซกัดกร่อน และ / หรือก๊าซพิษจากการเผาไหม้
6. สารพิษและสารติดเชื้อ

6. 1 ก่อให้เกิดความเป็นพิษ หากสารเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ การกลืนกินหรือสัมผัสทางผิวหนัง อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ การสัมผัสกับสารที่หลอมละลายอาจทำให้เกิดการไหม้ ที่ผิวหนังและตาอย่างรุนแรง

6. 2 การหายใจกับการสัมผัสกับสารอาจเป็นสาเหตุทำให้ติดเชื้อ เป็นโรค หรือเสียชีวิตได้
7. วัตถุกัมมันตรังรังสี

7. หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นระหว่างการขนส่ง รังสีที่แผ่ออกมาจะมีความเสียงเล็กน้อยสำหรับผู้ที่ทำงาน เกี่ยวกับการขนส่ง ผู้ปฏิบัติงานกู้ภัยและต่อสาธารณชน เพราะว่าบรรจุภัณฑ์ของสารชนิดนี้มีความแข็งแรงทนทาน ตามระดับอันตรายของสารอยู่แล้ว ยกเว้นว่ามีการเสียหายที่รุนแรง
8. สารกัดกร่อน

8. การสัมผัสกับสารอาจทำให้เกิดการไหม้ที่ผิวหนังและตาอย่างรุนแรงได้
9. สารอันตรายเบ็ดเตล็ด

9. การหายใจเอาสารเข้าไปอาจเกิดอันตรายได้ การหายใจเอาฝุ่นผงของใยหินเข้าไปอาจมีผลให้ปอดถูกทำลาาย กรณีสารอุณหภูมิสูงความร้อนของสารที่ขนส่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงอันตรายได้



ขนาดของแผ่นป้าย มีขนาดไม่น้อยกว่า 250 x 250 ม.ม โดยมีเส้นขอบในสีเดียวกับ สัญลักษณ์ขนานไปกับขอบทั้ง 4 ด้าน และห่างเข้าไปจากขอบนอก 12.5 ม.ม (ยกเว้นประเภทที่ 7 เส้นขอบใน ห่างจากขอบนอก 5 ม.ม)

***วัตถุอันตราย ประเภทที่ 2-9 จะต้องแสดงหมายเลขสหประชาชาติ ( UN number) เขียนบนแผ่นป้ายสี่ส้มสี่เหลี่ยมผืนผ้า สูงไม่น้อยกว่า 120 มม. และกว้าง 300มม. พร้อมด้วยขอบสีดำ 10 มม. วางแผ่นป้ายตัวเลขมีความสูงไม่น้อยกว่า 65 มม.

***วัตถุอันตราย เบ็ดเตล็ด ประเภทที่ 9 กรณีเป็นของเหลวที่มีอุณหภูมิ ตั้งแต่ 100 ํC ขึ้นไป หรือของแข็งที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 240 ํC ขึ้นไป ต้องติดเครื่องหมายสารอุณหภูมิสูงด้วย

***ผู้ประกอบการขนส่งวัตถุอันตราย ต้องจัดให้มีป้ายแสดงตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย ติดไว้ ด้านท้ายรถและด้านข้างตัวรถทั้งสองด้าน


ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตุอันตรายได้ที่ www.motc.go.th
สำนักวิศวกรรมและปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก 0-2272-3234 www.dlt.go.th




คำค้นหา

No comments:

Post a Comment