โพสต์แนะนำ

สัญลักษณ์ไฟโชว์ที่หน้าปัดรถยนต์

สัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์พื้นฐานของรถยนต์ทุกค่ายที่พึงมี รูปร่างอาจต่างกันนิดหน่อยครับ

Thursday, December 31, 2015

ระบบกันสะเทือนอิสระ ปีกนกคู่

ระบบกันสะเทือนในรถยนต์มีหลายแบบด้วยกัน
บทความนี้จะเน้นรายละเอียดเฉพาะ "ระบบกันสะเทือนอิสระ ปีกนกคู่ที่ใช้กันมากที่สุดในรถกระบะปัจจุบัน
ขื่อทางภาษาอังกฤษ Double Wishbones"

FORD RANGER 4WD (ระบบช่วงล่างขับเคลื่อนสี่ล้อ มุมมองจากด้านท้ายรถ )
1. ลูกหมากกันโคลง / Stabilizer bar link
2. ปีกนกบน / Upper arm
3. เหล็กยึดกันโคลง / Sway bar, Stabilizer bar
4. แขนยึดบังคับเลี้ยว / Knuckle
5. ปีกนกล่าง / Lower arm
6. เพลาขับหน้า / Half Shafts
7. โช๊คอัพ / Shock absorber unit
8. สปริง ,คอล์ยสปริง / Suspension unit, Coil spring


ระบบกันสะเทือนอิสระแบบปีกนกคู่ นิยมใช้กันมากในรถกระบะ เพราะประสิทธิภาพ เหมาะกับสภาพถนน กึ่งเมืองกึ่งชนบทที่มีมาก ระบบนี้ไม่เน้นลุยโหด แบบอ๊อฟโรดประจำ ถ้าแบบลุย ๆต้องเป็นแบบคานแข็ง (ระบบกันสะเทือนแบบคานแข็ง ภาษาอังกฤษ Rigid Suspension)

ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้ระบบปีกนก
CHEVROLET : COLORADO
FORD : RANGER : FORD RANGER 4WD (ระบบช่วงล่างขับเคลื่อนสี่ล้อ)
ISUZU : TFR, D-MAX
MAZDA : BT-50
MITSUBISHI : L200
NISSAN : BIG-M, FRONTIER
TOYOTA : HILUX VIGO


การทำงาน ของระบบกันสะเทือนอิสระ ปีกนกคู่
การทำงานของปีกนก จะกระพือขั้น และ ลงคล้ายปีกนก ตามแรงกดของตัวรถ ทั้งตัวบนและตัวล่าง พร้อมกัน
เพียงแต่แยก การทำงานซ้าย และชวา เป็นอิสระต่อกัน

ตำแหน่งการซับการสะเทือน จะอยู่ใกล้กับแกนล้อ โดยใช้ลูกหมาก หรือ เป็นตัวเชื่อมต่อรองรับการโยกตัวของปีกนกและคอม้า(ชุดดุมล้อและแกนล้อ) จึงทำให้ปีกนกสามารถรับการเคลื่อนไหวของรถได้
การถ่ายน้ำหนัก และการซับแรงสั่นสะเทือน เริ่มจาก ยางรถยนต์ >> กระทะล้อหรือแม็กซ์>>ชุดคอม้า(ดุมล้อ, แกนล้อ, ลูกปืนล้อ)>>ลูกหมากปีกนก>> ปีกนก, บู๊ชปีกนก, สลักปีกนก>>โช๊คอัพ>>คอยล์สปริง, ทอร์ชั่นบาร์ ระบบกันสะเทือนอิสระ ปีกนกคู่ หรือ คอนโทรลอาร์ม เป็นระบบรองรับสำหรับรถยนต์



รูปร่างลักษณะของปีกนก ที่พบมากมี 2 แบบ
รูปร่างลักษณะคล้าย คล้ายตัว Y หรือง่ามหนังสติ๊ก พบได้ในรถยนต์รุ่นเก่่า
รูปร่างลักษณะคล้าย คล้ายตัวเอ A พบได้ในรถยนต์รุ่นใหม่

ชิ้นส่วนของ ระบบกันสะเทือนแบบปีกนกคู่ ประกอบด้วย
ปีกนกบน Lower control arm
ปีกนกล่าง Upper control arm
ลูกหมากปีกนกล่าง Lower ball joint
ลูกหมากปีกนกบน Upper ball joint
เหล็กกันโคลง Sway bar, Stabilizer bar
บู๊ชปีกนกบน
บู๊ชปีกนกล่าง
แกนดุมล้อหน้า (แกนคอม้า) Spindle
Steering knuckle
โช๊คอัพ Shock Absorber
หนวดกุ้ง Strut rod
ทอชั่นบาร์ Torsion bar
คอล์ยสปริง Coil spring

โช๊คอัพ Shock Absorber
ลักษณะเป็นทรงกระบอก ภายประกอบด้วย กระบอกสูบโช๊ค(ภายในมีของเหลว หรือก๊าซในแต่ละรุ่น) ลูกสูบโช๊ค วาล์ว
การทำงาน ช่วยลดการสั่นสะเทือน

หนวดกุ้ง ปัจจุบันได้ถูกยกเลิกการใช้แล้วเนื่องจาการออกแบบปีกนกล่างใหม่ ที่เป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายตัว A
ช่วยลดการสั่นด้านหน้าแนวปะทะรถหน้าได้ดีกว่า ปีกนกล่างทรงสี่เหลี่ยมผื่นผ้า

ทอร์ชั่นบาร์ (Torsion bar) ลักษณะเป็นเหล็กแท่งตัน ยาว
นิยมใช้ในแนวระนาบ โดยวางตามแนวนอน
หน้าที่ของ ทอร์ชั่นบาร์ คือเป็นสปริง รับน้ำหนักโดยการบิดตัว
การใช้งานกับรถยนต์ ปลายด้านหน้ายึดติดกับจุดหมุนของปีกนกล่าง ปลายด้านหลังยึดติดกับซับเฟรม ด้วยสกรูล๊อกเพื่อปรับองศาการบิดตัว
จะพบได้มากในระบบรับน้ำหนัก รถกระบะรุ่นเก่า เนื่องจากมีความแข็งแรงแต่กระด้าง กว่าระบบคอยล์สปริง
ปัจจุบัน รถยนต์กระบะที่เคยใช้ ระบบช่วงล่างด้านหน้า แบบ ทอร์ชั่นบาร์ จึงได้เปลี่ยนมาใช้ระบบคอยล์สปริงแทน
ทอร์ชั่นบาร์เมื่อบิดตัวแล้วจึงมีแรงบิดกลับสู่ตำแหน่งเดิม โดยมีโช๊คอัพทำหน้าที่ ซับแรงไม่ให้การหมุนคลายตัวรุนแรงเกินไป จนเกิดอาการสั่น

คอล์ยสปริง Coil spring
คอยล์สปริงทำหน้าที่รองรับน้ำหนักแทนแหนบ โดยทำงานร่วมกับชุดของโช้คอัพ เพื่อดูดซับแรงสั่นสะเทือน ในจังหวะยุบ และยืดตัว
จุดเด่นของ คอยล์สปริงคือดูดซับแรงการสั่นสะเทือนได้นุ่มนวล ดีกว่าแหนบ
ปัจจุบันจึงเป็นที่นิยม





หมายเหตุ
1. ระบบกันสะเทือนแบบคานแข็ง (Rigid Suspension)
นิยมใช้ในรถยนต์บรรทุกสิบล้อ และ รถยนต์บรรทุกหกล้อ ทั้งด้านหน้าด้านหน้าและด้านหลัง นิยมใช้ในรถกระบะ ด้านหลัง ส่วนด้านหน้านิยมใช้ แบบอิสระ


2. ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ (Independent Suspension)

นิยมใช้ในรถเก๋ง ด้านหน้าและด้านหลัง
นิยมใช้ในรถกระบะ ด้านหน้า ส่วนด้านหลังนิยมใช้ แบบคานแข็ง

2.1 ระบบกันสะเทือนอิสระแบบปีกนกคู่ (Double Wishbone) 2.2 ระบบกันสะเทือนแบบแมคเฟอร์สันสตรัท (MacPherson Strut)
นิยมใช้ในรถเก๋ง ด้านหน้าและด้านหลัง
ใช้แกนปีกนกด้านล่างเพียง 1 แกน ส่วนด้านบนจะใช้เป็นชุดสตรัท (Strut)
เพื่อรับแรงกระแทก-สั่นสะเทือน จากที่ล้อ ส่งต่อไปยังปีกนกบน >> คอยสปริง >>โช้คอัพ
































คำค้นหา
ระบบช่วงล่างยนต์ ภาษาอ้งกฤ Suspensions system,โครงรถ ภาษาอ้งกฤ Frame, ตัวถัง ภาษาอ้งกฤ Body, น้ำหนักเหนือสปริง ภาษาอ้งกฤ Sprung weight, น้ำหนักใต้สปริง ภาษาอ้งกฤ Unsprung weight, แม็คเฟอร์สันสตรัท ภาษาอ้งกฤ MacPherson strut, มัลติลิงค์ ภาษาอ้งกฤ Multi-link suspension, ระบบช่วงล่างแบบอิสระ ภาษาอ้งกฤ Independent suspensionม ระบบกันสะเทือนที่ใช้แขนยึด ภาษาอ้งกฤ Link, ระบบกันสะเทือน แบบปีกนกคู่ ประกอบด้วยอะไรบ้าง, ปีกนก ภาษาอังกฤษ Wishbone suspension

No comments:

Post a Comment