โพสต์แนะนำ

สัญลักษณ์ไฟโชว์ที่หน้าปัดรถยนต์

สัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์พื้นฐานของรถยนต์ทุกค่ายที่พึงมี รูปร่างอาจต่างกันนิดหน่อยครับ

Wednesday, December 31, 2014

อุทาหรณ์ (ระบบเบรกรถบรรทุก)

อาการลมเบรกหมด ไม่มีใช้เมื่อยามจำเป็น
ภาพจำลองสถานที่ : ถนนลงเนินลาดระยะทางยาว และแสงที่มืดในเวลากลางคืน




วันที่ 27 มีนาคม
2555 เวลาประมาณ 01.30 น.
มีอุบัติเหตุรถยนต์ชนกัน 19 คัน
มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ เกือบ 20 ราย
ที่ถนนมิตรภาพขาเข้า บริเวณทางลงเนิน หน้าโรงปูนทีพีไอ อําเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
สรุปผลการสอบสวน
เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้ประสพเหตุ 25 ราย (บาดเจ็บสาหัส 7 ราย และส่งรักษาต่อที่ รพ.สระบุรีแล้ว
ที่เหลือกลับบ้านแล้ว) เสียชีวิต 3 ราย เป็นผู้โดยสารมากับรถตู้ 2 ราย ผู้โดยสารรถกระบะ 1 ราย
ก่อนเกิดเหตุ มีอุบัติเหตุรถพ่วงบรรทุกแป้งมัน เกิดหางหลุดพลิกคว่ำ ขวางช่องจราจรด้านขวา
( เวลา 23.30 น. )
เจ้าหน้าที่ตํารวจได้ปิดการจราจรชั่วคราว เพื่อดําเนินการเคลียร์พื้นที่จนแล้ว
เสร็จ และเตรียมดําเนินการเปิดการจราจร ประมาณ 01.20 น.
แต่มาเกิดอุบัติเหตุขึ้นอีกครั้ง คือ มีรถพ่วงบรรทุกเกลือ ที่ไปรับเกลือจาก อําเภอพิมาย
จังหวัดนครราชศรีมา เพื่อจะไปส่งโกดังแสมดํา เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ
ก่อนถึงจุดเกิดเหตุ
ผู้ขับรถพ่วงให้ข้อมูลว่า ขับรถมาทางเลนซ้าย ตลอดระยะทางลงเนิน ด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เห็นไฟจากรถยนต์ ข้างหน้าเป็นทางยาว
และมีการเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ
ประกอบกับไม่มีป้ายสัญญาณบอกว่าข้างหน้ามีอุบัติเหตุ
ได้เหยียบเบรก(เป็นเบรกลม) เป็นระยะ ๆ มากกว่า10 ครั้ง
และเมื่อใกล้ถึงจุดเกิดเหตุ พบว่ามีรถจอดอยู่ จึงทําการเหยียบเบรกเป็นระยะ ๆ
ประมาณ ๑๐ กว่าครั้ง จนกระทั่งเบรกไม่ทํางาน(เหยียบเบรกไม่ลง)
จึงหักพวงมาลัยจากเลนซ้ายเข้าเลนขวามือ เพื่ออาศัยแนวกันชนกลางกั้นถนนช่วยในการ ชะลอรถ
เป็นผลให้ชนรถตู้ที่อยู่เลนขวา ก่อนที่จะลากไปชนรถยนต์คันอื่น ๆ ที่จอดอยู่รวมจํานวนทั้งสิ้น 16 คัน
ที่จอดติดอุบัติเหตุข้างหน้า ที่หลักกิโลเมตรที่ 14 -15 แก่งคอย หรือ 24-25 สระบุรี
(จากการสอบถามผู้ขับขี่ว่าทําไมไม่หักหลบเข้าเลนซ้ายซึ่งเป็นไหล่ทาง
ผู้ขับขี่ตอบว่าข้างทางเป็นล่องลึกหากตกลงไปอาจทําให้รถพลิกคว่ำทับมาทางหัวรถพ่วงได้)
ผู้โดยสารที่รอดชีวิตส่วนใหญ่นอนหลับ และรู้สึกตัวขณะเกิดเสียงดังจากการชนกัน
หลังจากนั้นได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นจากมูลนิธิกู้ชีพ นําส่งโรงพยาบาลแก่งคอย
ผู้บาดเจ็บเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแก่งคอยจํานวน 25 คน
(ส่งต่อที่โรงพยาบาลสระบุรี จํานวน 7 ราย) เสียชีวิต 3 ราย

พฤติกรรมการขับขี่
ผู้ขับขี่รถพ่วง(18 ล้อ) เป็นพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง อายุ 65 ปี มีใบอนุญาตขับรถชนิดที่ 4
ออกที่สถานีขนส่ง จังหวัดนครราชสีมา ขับรถพ่วงคันนี้ คนเดียวเป็นประจํานาน 6 ปี ก่อนหน้านี้ พ.ศ. 2552
เคยมีอุบัติเหตุเนื่องจากไม่มีสัญญาณบอกเหตุว่ามีอุบัติเหตุ คล้ายกับเหตุการณ์นี้ 1 ครั้ง ที่ ต.ทับกวาง
อําเภอแก่งคอย ถนนมิตรภาพ ขาเข้ากรุงเทพฯ ประวัติด้านสุขภาพ ไม่มีโรคประจําตัว ช่วงนี้รับประทานยา
ปรับความดันในหูเป็นประจํา ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ดื่มเครื่องชูกําลัง ไม่มีปัญหาด้านสายตา ข้อมูลการ
เดินทาง วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2555 ออกเดินทางจากที่พักเวลา 05.00 น. ไปถึงที่รับเกลือ อําเภอพิมาย
เวลา 12.00 น. (8 ชั่วโมง) รับเกลือขึ้นรถเวลา 17.00 น. ออกจาก อําเภอพิมายเวลา 23.00 น.
มาถึงกลางดง เวลาประมาณ 01.00 น. จอดพักประมาณ 30 นาที ออกจากกลางดง ประมาณ 10 กิโลเมตร
ก็เกิดอุบัติเหตุ เวลา 01.20 น. ความเร็วของรถประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกียร์ที่ใช้ขณะเกิดเหตุ ใช้
เกียร์ 5 (สูงสุด) แตะเบรกเป็นระยะ ๆ ไม่แตะคันเร่ง ขณะปะทะผู้ขับขี่รู้ตัว แต่เบรกไม่อยู่แล้ว เนื่องจากลม
เบรกเริ่มหมด และปะทะที่จุดหม้อลมพอดีทําให้หม้อลมหลุดกระเด็นออกจากตัวรถ ประวัติการซ่อมรถ ก่อน
หน้านี้ได้แจ้งให้บริษัทเรื่องเบรกเริ่มไม่ทํางาน(มีลมรั่ว) และบริษัทได้ดําเนินการเปลี่ยนอะไหล่(ตัวดีเลย์ )ให้แล้ว
ส่วนเบรกยังไม่ถึงกําหนดเปลี่ยน ขณะขับรถ ไม่ได้ทํากิจกรรมใดๆ การแต่งกาย ใส่รองเท้าหุ้มส้น

สรุปปัจจัยที่นําไปสู่การเกิดการบาดเจ็บครั้งนี้(( ( จากการสอบถามนายช่าง กรมการขนส่ง)) )
๑. ลักษณะของถนน เป็นทางลาดลงจากเนินเป็นเป็นระยะ ๆ ทําให้ความเร็วของรถพ่วงขณะลงเนิน
เร็วขึ้น น้ำหนักรถพ่วงและเกลือที่บรรทุก(น้ำหนักรวม ๔๓.๓ ตัน) กับผู้ขับขี่เบรกรถในระยะ
กระชั้นชิด ทําให้ระยะทางไม่เพียงพอกับการที่จะทําให้รถพ่วงหยุด จึงเกิดการชนรถที่ขวางอยู่
ข้างหน้า ติดต่อกันหลายคัน
๒. ทัศนะวิสัยการมองของผู้ขับขี่กลางคืน คือ ผู้ขับขี่เห็นว่ารถยนต์มีการเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ แต่
ความเป็นจริงรถจอดนิ่ง เนื่องจากการปิดการจราจรชั่วคราวจากอุบัติเหตุข้างหน้า บวกกับ
ความเร็วของรถในข้อหนึ่ง ผู้ขับขี่ขับเข้าใกล้รถยนต์ที่จอดนิ่งอยู่ และอยู่ในระยะที่ไม่สามารถหยุด
รถได้ จึงย้ำเบรกบ่อย ๆ มีผลให้ลมในถังลมหมด ประกอบกับเครื่องปั๊มลมปั๊มลมเข้าถังลมไม่ทัน ทําให้เบรกใช้งานไม่ได้ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้
๓. ไม่มีสัญญาณบ่งบอกว่ามีอุบัติเหตุข้างหน้า ทําให้ผู้ขับขี่ไม่ได้ชะลอรถ ยงคงใช้เกียร์สูงสุดในการ
ขับรถ(เกียร์ ๕) เป็นเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้

กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สํานักงานป้องกันควบคุมโรค ข้อมูลจาก : http://www.quinl.com/UploaD/PDF/10e24032w22.pdf


























No comments:

Post a Comment